งานแถลงข่าว เปิดตัว มาตรการลดหย่อนภาษี TAX250%

ณ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ภาคใต้ตอนล่าง

อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

เมื่อ วันที่ 5 กรกฎาคม 2567 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) จัดแถลงข่าวเปิดตัวมาตรการลดหย่อนภาษี 250%

ให้ความรู้กับผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลา และภาคใต้ตอนล่าง โดยร่วมกับส านักงานสรรพากรพื้นที่สงขลา 2 มหาวิทยาลัย

หาดใหญ่และโรงเรียนคอมพิวเตอร์ไทยคอม สถาบันการศึกษา ทั้ง 2 รายในจังหวัดสงขลาที่ได้ ขึ้นทะเบียน รับรองตาม

มาตรการดังกล่าว เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีทักษะด้านดิจิทัลที่สูงขึ้น

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ depa กล่าวถึง “ดีป้า” เปิดรายชื่อหลักสูตร-สถานฝึกอบรมที่ได้รับ

การรับรอง เพื่อลดหย่อนภาษี 250% ตามมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาลูกจ้างให้มีทักษะด้าน STEM สูงขึ้น

• ส านักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ประกาศรายชื่อ 200 หลักสูตร และ 48 สถานฝึกอบรมที่ได้รับการรับรอง ตาม

มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาลูกจ้างให้มีทักษะด้าน STEM สูงขึ้น

• รายจ่ายที่พัฒนาลูกจ้างตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 – 31 ธันวาคม 2568 ลดหย่อนภาษีได้ 250%

5 กรกฎาคม 2567, อาคารดีป้า สาขาภาคใต้ตอนล่าง – ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อ านวยการใหญ่ ส านักงาน

ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้น

รัษฎากร (ฉบับ 712) พ.ศ. 2563 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ส าหรับเงินได้เป็นจ านวน 150% ของ

รายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม หรือในการจัดฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง ตั้งแต่

วันที่ 1 มกราคม 2566 – 31 ธันวาคม 2568 เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology)

วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) หรือคณิตศาสตร์ (Mathematics) หรือ STEM นั้น

“ดีป้า มีภารกิจในการส่งเสริม สนับสนุน และด าเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมและนวัตกรรม

ดิจิทัล โดยได้รับการประสานจากกรมสรรพากร กระทรวงการคลังให้เป็นหน่วยงานรับรองหลักสูตรส าหรับการยกเว้นภาษี

ดังกล่าวตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 393) เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคลรวมเป็น 250% ส าหรับการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม หรือการจัดฝึกอบรมแก่ลูกจ้าง เพื่อ

พัฒนาบุคลากรในด้านดังกล่าว” ดร.ณัฐพล กล่าว

ดีป้า จึงด าเนินการประกาศรายชื่อหลักสูตรและสถานฝึกอบรมที่ได้รับการรับรอง ตามมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการ

พัฒนาลูกจ้างให้มีทักษะสูงขึ้นในด้าน STEM ซึ่งมีสถานฝึกอบรมในพื้นที่อ าเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และ โรงเรียนการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ไทยคอม

นายรพีพัฒน์ นำนาผล ผู้จัดการสาขาภาคใต้ตอนล่าง เปิดเผยว่า อาคารส านักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคใต้

ตอนล่าง ในอ าเภอหาดใหญ่ พร้อมให้บริการผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมการลงทุนและการประกอบกิจการด้านอุตสาหกรรม

ดิจิทัลในภูมิภาค ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการพัฒนาระบบนิเวศด้านดิจิทัล (Digital Ecosystem) และคาดว่าจะช่วยกระตุ้น

เศรษฐกิจดิจิทัลในพื้นที่ได้ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาทใน 5 ปี ข้างหน้า นอกจากนี้ ส านักงานยังมี ห้องประชุม Co-Working

Space ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์ ไว้รองรับผู้ที่จะมาใช้บริการอีกด้วย

ซึ่งในจังหวัดสงขลามีสองสถาบันที่ร่วมเปิดตัวในวันนี้ ได้แก่

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และโรงเรียนการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ไทยคอม (APPThai.com) เป็นสองสถาบันที่ได้รับการรับรอง

หลักสูตรฝึกอบรมตามมาตรการนี้ โดยมีตัวอย่างหลักสูตรที่ได้รับการรับรอง อาทิเช่น หลักสูตรผู้น าองค์กรยุคดิจิทัล (Digital &

Innovative Leadership) หลักสูตรการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กรในยุคดิจิทัล (Human Resource and

Organization Development in Digital Age) หลักสูตรการเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Literacy for Community)

หลักสูตร Power BI Desktop for Business Analytics

** หลักสูตร Digital Marketing โดย APPThai และหลักสูตรที่จัดขึ้นเฉพาะให้ตรงกับการประกอบธุรกิจและความต้องการ

ของผู้ประกอบการเฉพาะรายด้วย

ดีป้า.. หวังว่ามาตรการนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพบุคลากรในทุกภาคส่วนและส่งเสริมการน าเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ใน

การด าเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทย.

มาตรการนี้จะเปิดให้เข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 – 31 ธันวาคม 2568

นายรพีพัฒน์ น านาผล ผู้จัดการสาขาภาคใต้ตอนล่าง กล่าวเสริมว่า เป็นการร่วมเปิดตัวอาคารส านักงานส่งเสริม

เศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคใต้ตอนล่าง (Digital Economy Promotion Agency Lower Southern Region) มีพื้นที่ใช้สอย

รวม 883 ตารางเมตร ตั้งอยู่ 79 หมู่ 2 ต าบลควนลัง อ าเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งประกอบด้วยโซนส านักงาน และ Co-

Working Space เพื่ออ านวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าใช้งานและเป็นพื้นที่เจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching)

ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุน หรือประกอบกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรม หรือนวัตกรรมดิจิทัลในภูมิภาคและพื้นที่เป้าหมาย

ของ depa เปิดให้บริการทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนห้องจัดกิจกรรมส าหรับการให้ความรู้ ยกระดับทักษะด้านเทคโนโลยี

ดิจิทัลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โดย depa ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในการพัฒนา

ระบบนิเวศด้านดิจิทัล (Digital Ecosystem) รวมถึงการบ่มเพาะแนวคิดและสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับ

หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชน โดยคาดการณ์ว่า ในระยะเวลา 5 ปีจะมีส่วนช่วยกระตุ้น

เศรษฐกิจดิจิทัลในพื้นที่ได้ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท รวมถึงการเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างประเทศใน

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต

ของประชาชนชาวไทยให้ได้มาตรฐาน เท่าเทียม และมีความสุข ภายใต้สโลแกน “People First” พร้อมกันนี้ยังส่งเสริมและ

สนับสนุนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยให้เกิดการน าเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ เพิ่มขีดความสามารถให้

ธุรกิจสามารถเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงการผลักดันให้ผู้ประกอบการ SME เข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบัน

การเงินพันธมิตร ให้ค าปรึกษาด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษี ด้านทรัพย์สินทางปัญญา และหนังสือรับรองประกอบหนังสือ

เดินทางชนิดพิเศษ (Smart Visa) ให้กับกลุ่ม Digital Nomad ตลอดจนให้บริการข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อไป

ด้าน ดร.ธารพรรษ สัตยารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ม.หาดใหญ่ กล่าวในงานนี้ว่า

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ก่อตั้งมาจนปัจจุบันปีที่ 27 เรามุ่งมั่นในการพัฒนาก าลังคนขั้นสูง สู่การขับเคลื่อน การพัฒนา

ทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรทุกภาคส่วน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จัดตั้งสถาบันนวัตกรรมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร

หรือ I-IPOD เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้บริการวิชาการแก่องค์กร การเพิ่มศักยภาพและยกระดับคุณภาพขององค์กร การพัฒนา

บุคลากรด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะการท างานที่ผ่านมาร่วมกับ Depa ในโครงการคูปองช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการ

ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม (depa Mini Transformation Voucher)

เพื่อสนับสนุนให้ SMEs และเกษตรกรไทย ให้สามารถยกระดับการบริหารจัดการด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้รับการรับรองหลักสูตรและรับรองสถานฝึกอบรม เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จากเดิมร้อยละ

100 เพิ่มเป็นร้อยละ 250 ส าหรับการส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร ด้านเทคโนโลยี จากส านักงาน

ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) โดยทุกหลักสูตรมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่บุคลากรทั้ง

ระดับปฏิบัติการ และระดับผู้บริหาร ได้แก่

• หลักสูตรผู้น าองค์กรยุคดิจิทัล Digital & Innovative Leadership

• หลักสูตรการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กรในยุคดิจิทัล Human Resource

and Organization Development in Digital Age.

• หลักสูตรการเป็นพลเมืองดิจิทัล Digital Literacy for Community

• หลักสูตร Power BI Desktop for Business Analytics

ผู้อำนวยการโรงเรียนคอมพิวเตอร์ไทยคอม

เข้มทุกข่าว ชัดทุกเรื่อง

By admin

ใส่ความเห็น