เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 นายวรณัฐ หนูรอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ให้เกียรติเป็นประธาน เปิดการแถลงข่าว โครงการ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ทิศทางของการขับเคลื่อนการศึกษา สังคม

และนวัตกรรม “มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กับการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย” การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น : กรณีผึ้งชันโรง (อุง) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ อธิการบดี, รศ.ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา ที่ปรึกษาอธิการบดีฝ่ายวิจัย ผส.ดร.ปกรณ์ ลิ้มโยธิน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผศ.ดร.นุกูล ชิ้นฟัก คณบดีคณะรัฐศาสตร์ และสื่อมวลชน ร่วมงาน

ในวาระที่มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สถาบันอุดมศึกษากลุ่มพัฒนาท้องถิ่นหรือชุมชนอื่นๆ ก้าวเข้าสู่ปีที่ 27 อย่างมั่นคง ด้วยวิสัยทัศน์และปณิธานของท่านผู้ก่อตั้งอาจารย์ประณีต ดิษยะศริน และการบริหารงาน

ด้วยหลักธรรมาภิบาลของสภามหาวิทยาลัยหาดใหญ่

เป็นการแถลงข่าว ถึงทิศทางการพัฒนาและขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อเสริมศักยภาพของมหาวิทยาลัยในด้าน การผลิตบัณฑิต และการให้บริการวิชาการแก่สังคมได้อย่างมีคุณภาพและกว้างขวางยิ่งขึ้น เป็นที่น่ายินดี จากการประเมินคุณภาพภายในผลการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (4.51) นับเป็นผลงานเชิงประจักษ์ที่มี ผลจากการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องทั้งใน 4 พันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยรวมทั้งการพัฒนา และนักศึกษาเป็นที่ยอมรับได้รับรางวัลระดับประเทศมากมาย ต่อเนื่องกันมาหลายปี มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น ส่งเสริมคุณภาพคณาจารย์ในทุกมิติ

จากปรัชญาของมหาวิทยาลัย “รู้คิด รู้ธรรม รู้สำเร็จ” มหาวิทยาลัยหาดใหญ่มุ่งพัฒนาบัณฑิตที่มี คุณภาพออกไปสู่สังคม มีความสมบูรณ์ทั้งด้านวินัย คุณธรรม สติปัญญา ที่ผ่านมามีบัณฑิตที่จบการศึกษา จากมหาวิทยาลัย ออกสู่ตลาดแรงงาน มากกว่า 20,000 คน กระจายทำงานอยู่ทั่วประเทศ ประสบ ความสำเร็จในชีวิตอย่างสูง เป็นที่ยอมรับของสถานประกอบการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

จากวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ปี 2570 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ พัฒนากำลังคน แห่งอนาคต ยกระดับคุณค่าชุมชนท้องถิ่นด้วยนวัตกรรม มีทิศทางและเป้าหมายในการพัฒนา มหาวิทยาลัย โดยการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัย มีเป้าหมายหลัก สร้างมหาวิทยาลัยให้เป็น แหล่งวิชาการชั้นสูง ด้วยการสร้างความองค์ความรู้ใหม่ การนำงานวิจัยไปสร้างความเป็นเลิศทางด้าน วิชาการ ที่ทำให้ผลงานของคณาจารย์และนักศึกษาเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ การวางแผนพัฒนาความ เป็นเลิศของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ โดยมุ่งพัฒนาผลักดันชุมชน เพื่อการเป็น “หลักในถิ่น และเป็นแหล่ง เรียนรู้ มุ่งสู่ความเป็นสากล” ปัจจุบันมหาวิทยาลัยหาดใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 3 เป็นมหาวิทยาลัยที่ เน้นการดำเนินการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน

โดยมีพันธกิจหลัก ดังนี้

1. มุ่งสร้างครู สร้างนวัตกร สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นไปยังพื้นที่ภาคใต้ ตอนล่าง

2. ขับเคลื่อน พัฒนาพื้นที่ ชุมชน สร้างความยั่งยืน ในความเชี่ยวชาญด้านการจัดการธุรกิจ การ ท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ Startup

3. การร่วมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสงขลา ในด้านธุรกิจ ท่องเที่ยว และการศึกษา เพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน

จากพันธกิจหลัก มหาวิทยาลัยหาดใหญ่จึงได้กำหนดแผนพัฒนาความเป็นเลิศ หรือแผนพลิกโฉม (Reinventing) ที่เน้นกิจกรรมและโครงการในด้านการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน เน้นการพัฒนา ด้านการส่งเสริมเทคโนโลยีและระบบสิ่งแวดล้อม (Ecosystem) การพัฒนาคุณภาพการสอนให้เป็น สมัยใหม่ พัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องความต้องการของสังคมท้องถิ่นและทิศทางของมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ และสาขาวิชาชีพครู

สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) เป็นหนึ่งในกลไกการจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยหาดใหญ่และหน่วยงาน ภายนอก ดำเนินการร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในสถาบันอุดมศึกษาควบคู่กับการ ปฏิบัติงานจริงในหน่วยงานภายนอก (Work-based Learning) ในทุกรูปแบบ ส่งเสริมให้นักศึกษามี สมรรถนะ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) ทัศนคติ (Attitudes) และค่านิยม (Values) และ คุณลักษณะตรงกับความต้องการของตลาดงาน และพร้อมสู่โลกแห่งการทำงานจริง

นอกจากนี้แล้วมหาวิทยาลัย ยังมีโครงการหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรเฉพาะ เพื่อส่งเสริมการ เรียนรู้อื่นๆ ทั้งที่เป็นหลักสูตรบนแพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning Hatyai University) และหลักสูตรระยะสั้น (Non Degree) ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) มีจุดประสงค์เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูง สำหรับอุตสาหกรรม New Growth Engine ตามนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งมหาวิทยาลัยหาดใหญ่มี หลักสูตรผ่านการอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภท หลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-Degree) จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการเตรียมความพร้อม ผู้สูงอายุกลุ่มแรงงานนอกระบบ หลักสูตรการผลิตสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สู่รายวิชา และ หลักสูตรการยกระดับทักษะการสร้างแบรนด์ดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์

ในปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรให้ได้รับการยอมรับในเครื่องข่าย มหาวิทยาลัยอาเซียน โดยใช้วิธีการประเมินหลักสูตร AUNOA (ASEAN: University Network Quality Assurance) และมุ่งมั่นพัฒนามหาวิทยาลัยให้เข้าสู่ระบบการจัดอันดับของ The University Impact Ranking การบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมีทีมนักวิจัยพัฒนาพื้นที่ มีความพร้อมด้านการ วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็งการต่อยอดสู่การสร้างผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน การวิจัย

ด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างแพลตฟอร์ม และตลาดชุมชนผ่าน Google My Business โครการวิจัย HU Marketing HUB ที่เป็นแหล่งรวมสินค้าและกระจายสินค้าจากผลิตภัณฑ์ชุมชน และผู้ประกอบการราย ใหม่ ซึ่งบริหารงานโดยนักศึกษา รวมทั้งการบูรณาการการสอน การวิจัย และบริการวิชาการ

ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้รับ 2 รางวัลระดับประเทศ คือ รางวัล “ชุมชนนวัตกรรมยอด เยี่ยม” จากผลงานวิจัย “การพัฒนานวัตกรรมการเลี้ยงและการขยายพันธุ์ผึ้งชันโรง เพื่อยกระดับศักยภาพ ภายใต้ชุดโครงการการพัฒนาชุมชน ในการประกวดชุมชนนวัตกรรม องวิสาหกิจชุมชนบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา เพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงสู่การเป็นชุมชนนวัตกรรมอย่างยั่งยืนจังหวัดสงขลา เทคโนโลยีพร้อมใช้ และนวัตกร ดีเด่น ในงาน “มหกรรมชุมชนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ (Leaning and Innovation Community) จัดโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บทท.)

และ อีกรางวัลคือ ผลงานรางวัลผลงานสถาบันอุดมศึกษาพัฒนาเชิงพื้น จากสำนักงานปลัดกระทรวงสำนักงาน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว.) ซึ่งเป็นรางวัลที่สร้างความ ภาคภูมิใจให้กับมหาวิทยาลัยหาดใหญ่เป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยกลุ่ม 3 ด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น การพัฒนา Area Based จึงเป็นแนวทางช่วยให้ชุมชน เกิดการพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เติบโตอย่าง ยั่งยืน ด้วยดึงภาคีเครือข่ายความร่วมมือ Change Agent หน่วยงานในเชิง Function เข้ามาช่วยใน ลักษณะ Service Provider และการร่วมจัดทำ Big Data โครงการการยกระดับศักยภาพความเข้มแข็ง ชุมชนนวัตกรรมจังหวัดสงขลา ครอบคลุมไปถึง 7 จังหวัดใต้ล่าง ซึ่งคณาจารย์ยังได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัย อีกหลายเรื่อง จากหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงานวิจัยแห่งชาติ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการ พัฒนาระดับพื้นที่ (บาท) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว) ซึ่งทำ ให้ผลงานวิจัยของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่เป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับท้องถิ่นและ และการที่มหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับให้เป็นระดับประเทศ

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยได้ปรับแผนพัฒนาการศึกษามุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs (Sustainable Development Goals) สนับสนุนการศึกษารูปแบบใหม่ ผลักดันการนำเทคโนโลยี มาพัฒนาการ ดำเนินงานต่างๆ เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมต้นแบบเพื่อชุมชน และร่วมพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมให้บุคลากร นักศึกษา และชุมชนยุทธศาสตร์ มีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม สร้างองค์ความรู้และขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ด้วยความมุ่งมั่นของผู้บริหารมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ในการก้าวสู่เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำ ระดับประเทศ มหาวิทยาลัยพร้อมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ความเป็นนานาชาติ การ บริหารงานวิจัย และนวัตกรรม เพื่อให้มหาวิทยาลัยหาดใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการดำเนินการเรียนรู้ ตลอดชีวิต วิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน เพื่อท้องถิ่นและการศึกษา

เข้มทุกข่าว ชัดทุกเรื่อง

By admin

ใส่ความเห็น