ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย หนึ่งในธนาคารสมาชิกกลุ่มซีไอเอ็มบี กลุ่มการเงินชั้นนำของอาเซียน จัดงานแถลงข่าวเนื่องในโอกาสวันอาเซียน ซึ่งตรงกับวันที่ 8 เดือน 8 ของทุกปี

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า การรวมกลุ่มของอาเซียนที่จะก้าวไปสู่ RCEP นั่นคือ 10 ประเทศอาเซียน รวมกับ 5 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก คือ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และจะมีอินเดียตามมาประเทศที่ 6 ซึ่งประเทศสมาชิกที่มากขึ้นจะเพิ่มโอกาสการค้าการลงทุนในภูมิภาคเพื่อรับมือกับวิกฤตโควิดที่ฉุดเศรษฐกิจแต่ละประเทศชะลอตัว ดังนั้น การค้าการลงทุนในภูมิภาคจะช่วยให้อาเซียนพลิกโอกาสขึ้นมาเติบโตได้ดีขึ้นหลังยุคโควิดเป็นต้นไปมาตรการล็อกดาวน์ที่จำกัดกิจกรรมเศรษฐกิจในหลายประเทศ การฉีดวัคซีนในภูมิภาคนี้ล่าช้า รวมทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อสูง ส่งผลให้การค้าการลงทุนปีนี้ รวมถึงอุปสงค์ในแต่ละประเทศชะลอตามไปด้วย อย่างไรก็ดี การส่งออกของแต่ละประเทศยังมีศักยภาพเติบโตได้ดี อยู่ในระดับที่สูงราว 15-20% ในปีนี้ และจะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อเนื่องไปถึงปีหน้า สืบเนื่องจากการที่ชาติพันธมิตร 10 ประเทศมีโอกาสที่จะร่วมมือกับชาติอื่นๆในภูมิภาคที่เรียกว่า RCEP และมีการเจรจาการค้าเสรี FTA กับประเทศนอกกลุ่มเพิ่มเติมอาเซียนแสดงให้เห็นว่าโลกาภิวัฒน์สามารถสนับสนุนประเทศขนาดเล็กให้ได้ประโยชน์จากการเติบโตการค้าโลกได้ และเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยบรรเทาผลกระทบจากการชะลอตัวภายในประเทศจากปัญหาโควิด อาเซียนมีโอกาสทางธุรกิจสำหรับนักลงทุนไทย เพราะแต่ละประเทศมีศักยภาพ ด้วย 3 ปัจจัย คือ เศรษฐกิจโตเร็ว ชนชั้นกลางเพิ่มต่อเนื่องสะท้อนภาพกำลังซื้อที่ดี และการเชื่อมโยงกับภูมิภาคอื่น เป็นปัจจัยสำคัญที่จะเห็นภาพของอาเซียนยังเป็นศักยภาพที่เติบโตได้ในอนาคต“ปัจจุบันอาเซียนเป็นจุดศูนย์กลางการระบาดของโควิดที่รุนแรง แต่น่าจะชั่วคราว น่าจะถึงจุดสูงสุดไม่กี่เดือนข้างหน้า และถึงจุดสิ้นสุดได้ในปีนี้ จากการกระจายวัคซีนที่ดีขึ้น ประชากรมีภูมิคุ้มกันดีขึ้น ผู้ติดเชื้อรายว้นลดลง และพร้อมเปิดเมืองได้ เพราะมีตัวอย่างให้เห็น จากประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงถึงจุดหนึ่งจะเริ่มลดลง และศักยภาพเศรษฐกิจในประเทศจะเริ่มกลับมาเติบโต และทะยานดีขึ้นปีหน้า ที่สำคัญการรวมกลุ่มเพื่อเน้นการค้าการลงทุนกับภูมิภาคอื่นรวมถึงภายในกันเองเป็นโอกาสสำคัญที่อาเซียนจะช่วยต้านทานกระแส Deglobalization หรือ การพยายามตีกลับเรื่องกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่สหรัฐร่วมกับพันธมิตรอื่นกดดันจีนไม่ให้เป็นมหาอำนาจ เรายังมองว่าอาเซียนถ้ารวมกลุ่มกันเหนียวแน่น โดยไม่มีความพยายามเลือกข้างใดข้างหนึ่งระหว่างสหรัฐหรือจีน แต่พยายามรวมกลุ่มกัน จัดสรรผลประโยชน์ที่ดีที่สุดให้ชาติพันธมิตร โอกาสในอนาคตผ่านการค้าการลงทุนกับหลากหลายประเทศเป็นโอกาสสำคัญทำให้อาเซียนรักษาสมดุลภายในกระแสการค้าโลกที่มีความผันผวนได้ในปีถัดๆไป” ดร.อมรเทพ กล่าว

นายเกษม พันธ์รัตนมาลา, CFA กรรมการ และหัวหน้าฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย)

นายเกษม พันธ์รัตนมาลา, CFA กรรมการ และหัวหน้าฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า คนไทย บริษัทไทย มองหาโอกาสลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านตลอดเวลา จากตัวเลข Thailand Direct Investment (TDI) คนไทยไปลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2559 แม้ปีก่อนจะเผชิญโควิดแต่ TDI ยังคงโต และโตต่อเนื่องมาถึงปีนี้ ส่วนใหญ่ไปลงทุนในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย ส่วนผลตอบแทนจากการไปลงทุนอาจต้องรอ 3-5 ปี หากธุรกิจเติบโต แข่งขันได้ เงินลงทุนจะกลับเข้ามาในประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยแข็งแรงขึ้นขณะที่ เงินต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทย Foreign Direct Investment (FDI) กลับน้อยกว่าเงินที่คนไทยนำไปลงทุนประเทศเพื่อนบ้าน โดย FDI ปีก่อน ติดลบ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมองย้อนกลับไปก่อนมีโควิด FDI มาไทยไม่ได้สูงมาตั้งแต่ปี 2559 เรื่อยมาถึงตอนนี้“ตลาดไทยไม่น่าสนใจในสายตาต่างชาติอีกต่อไป เพราะเราไม่ค่อยมีบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่ส่วนใหญ่เป็น sector ใหม่เกี่ยวกับเทคโนโลยี สินค้าไฮเทค สมาร์ทโฟน รถ EV ซึ่งต้องมีเงินทุนใหม่ๆ มารองรับ ถ้าถามว่าไทยจะมีอุตสาหกรรมใดที่จะพัฒนาเพื่อต่อยอดเศรษฐกิจของเราเองได้ เป็นคำถามที่รัฐบาลต้องนำไปคิด ทำไมต่างชาติเขามองข้ามเราไป หรือโครงสร้างพื้นฐานเราเองมีปัญหา เช่น เรื่องคน เรื่องการศึกษา แรงงานเราค่าแรงไม่ถูก แต่ทักษะสูงไม่พอหรือเปล่า รวมถึงระบบโลจิสติกส์ที่ไม่เอื้อ ทำให้ประเทศไทยขาดความน่าสนใจในการลงทุน อย่าว่าแต่นักลงทุนต่างชาติเลย แม้แต่นักลงทุนไทยยังไปลงทุนเพื่อนบ้าน” นายเกษม กล่าวฝั่งตลาดหุ้นไทย การระบาดของโควิดที่จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันทำสถิติใหม่ไม่หยุด ส่งผลให้ต่างชาติขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง โดยขายไปแล้วกว่า 9 หมื่นล้านบาท YTD (year-to-date) และถ้ารวมกับปีก่อน เป็นการเทขายรวม 2.6 แสนล้านบาทแล้ว โดยเฉพาะช่วงหลังนี้ ต่างชาติขายอย่างเดียว แทบไม่ซื้อเลย หากไทยยังควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ไม่ได้ ยากที่ต่างชาติจะกลับมาซื้อไม่ใช่เฉพาะตลาดไทย ต่างชาติขายอย่างเดียว ขายหนักมาก แทบจะทุกตลาด ยกเว้นอินเดียที่เมื่อตัวเลขคนติดเชื้อลดจาก 4 แสนคนต่อวันเหลือ 2 แสนคนต่อวัน ทำให้ต่างชาติกลับเข้ามา และเมื่อลดเหลือ 3-4 หมื่นคน ส่งผลให้ต่างชาติซื้อเยอะขึ้น ถ้าไทยควบคุมโควิดได้เมื่อไหร่ น่าจะมีเงินต่างชาติไหลเข้ามาเช่นกันโควิดไม่ใช่ปัจจัยเดียว ต่างชาติขายและระมัดระวังกับเงินลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น เพราะกังวลในสัญญาณที่ธนาคารกลางสหรัฐอาจลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ต่างๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หรือ mortgage back securities รวมถึงกังวลว่าดอกเบี้ยนโยบายจะปรับขึ้นปลายปี 2565 ถึงต้นปี 2566 ต่างชาติจึงลดสัดส่วนถือครองหุ้นแทบทุกตลาดตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบเพื่อนบ้าน ไม่ได้แย่ขนาดนั้น market performance ยังเป็นบวกเล็กน้อย หากเทียบตลาดในภูมิภาค ตลาดที่บวกคือแถบเอเชียเหนือ เช่น ตลาดไต้หวัน YTD ขึ้นไป กว่า 30% ตลาดเกาหลีขึ้นไป เกือบ 20% สาเหตุหลัก คือ ควบคุมโควิดได้ดีกว่า และมีอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากการที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ตลาดจึงดีกว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ค่อนข้างสาหัสกันเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นสิงคโปร์ ที่ YTD ค่อนข้างดีเกือบ 20%หากกลับมาดูประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเปรียบเทียบภายในกันเอง ตลาดไทยไม่ได้แย่มาก ส่วนตลาดมาเลเซียแย่กว่าเรา จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่ใกล้เคียงกับไทย แต่เมื่อเทียบสัดส่วนกับประชากรที่น้อยกว่าไทยครึ่งหนึ่ง มาเลเซียจึงสาหัสกว่าไทย รวมถึงมีปัญหาการเมืองด้วย performance จึงไม่ดี คล้ายกับฟิลิปปินส์ที่โควิดระบาดหนักเช่นกัน ส่วนเวียดนามดีในช่วงแรก โดยนำโด่งขึ้นไปถึง 30% แต่หลังโควิดระบาดหนัก จึงลดลงมาเหลือ 19% และถ้าระบาดหนักกว่าเดิมอาจลดลงไปได้อีก

นายดนัย อรุณกิตติชัย,CFA ผู้บริหารที่ปรึกษาการลงทุนและผลิตภัณฑ์ทางการเงิน Wealth Advisory by CIMB THAI ธนาคาร ซีไอเอ็มบี

นายดนัย อรุณกิตติชัย,CFA ผู้บริหารที่ปรึกษาการลงทุนและผลิตภัณฑ์ทางการเงิน Wealth Advisory by CIMB THAI ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า สำหรับการลงทุนในกลุ่มอาเซียน ทางเลือกในการลงทุนสามารถทำได้ผ่านกองทุนรวม หรือ การลงทุนในหลักทรัพย์โดยตรงในบางตลาด เช่น เวียดนาม ที่น่าสนใจอย่างมากช่วงที่ผ่านมา โดยตลาดเวียดนามเป็นตลาดที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นกว่าตลาดอื่นๆในอาเซียน โดย 5 ปีที่ผ่านมาการลงทุนในดัชนี VNI Index ของเวียดนามให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ย 16.5% ต่อปี สูงกว่าผลตอบแทนช่วงเวลาเดียวกันของดัชนี S&P500 ที่เป็นหนึ่งในดัชนีที่ให้ตอบแทนสูงและเติบโตเร็วช่วงที่ผ่านมาที่ 15.0% ต่อปี โดยขนาดมูลค่าของตลาดเวียดนาม (Market Capitalization) สะท้อนจากดัชนี VNI Index ก็เติบโตขึ้นกว่า 3.5 เท่าจากมูลค่าโดยประมาณ 84,000 เป็น 210,846 ล้านเหรียญสหรัฐ และกำไรต่อหุ้นเติบโตโดยเฉลี่ย 14.8% ซึ่งเป็นอัตราที่อยู่ในเกณฑ์สูงขณะที่ประเทศอื่นๆ อาจจะทรงตัวและปรับตัวไม่มากนัก แต่ก็ยังน่าสนใจในแง่ของความหลากหลายของอุตสาหกรรมและความหลากหลายในภูมิภาค โดยบางประเทศเน้นอุตสาหกรรมกลุ่มธุรกิจการเงิน บางประเทศเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมนอกจากนี้ จากปัจจัยในตลาดโลก ทั้งการแพร่ระบาด นโยบายการเงินการคลัง และการอัดฉีดสภาพคล่องของภาครัฐ ทำให้ตลาดหุ้นหลายๆ แห่งโดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ ยุโรป เริ่มอยู่ในเกณฑ์แพง สะท้อนจาก Forward PE และความเสี่ยงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ทำให้การลงทุนอาจต้องระมัดระวังและหันกลับมามองในฝั่งเอเชีย รวมถึงกลุ่มอาเซียนด้วย ซึ่งยังมีระดับการซื้อขายในช่วง 13-18 เท่า และเทียบกับค่าเฉลี่ยของระดับการซื้อในอดีตก็อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าฝั่งประเทศพัฒนาแล้วภูมิภาคอาเซียนแม้ปัจจุบันเผชิญปัญหาการแพร่ระบาดที่ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ เช่น ในเวียดนามและในไทย แต่ในระยะยาว อาเซียนยังคงมีจุดเด่นเรื่องความเป็นตลาดสำหรับผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่ และเป็นตลาดสำหรับชนชั้นกลาง โดยประชากรของกลุ่มอาเซียนคิดเป็น 8.6% ของทั้งโลกและมีอายุเฉลี่ยเพียง 30.2 ปี รวมถึงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิที่ดีในระยาว และการเติบโตของรายได้ของประชากร รวมถึงมีความโดดเด่นด้านการผลิต และอุตสาหกรรมการเกษตร ท่องเที่ยว และมีความหลายหลายภายในกลุ่ม รวมถึงการดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ยังมีต่อเนื่อง อาศัยการเป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่การผลิตในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม“การจัดพอร์ตการลงทุนเรายังคงแนะนำให้กระจายการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งรวมไทยและอาเซียนด้วยในช่วง 11% ถึง 39% ตามระดับความเสี่ยงจากพอร์ตความเสี่ยงต่ำสุดไปถึงสูงสุด โดยในช่วงที่ผ่านมาเน้นการลงทุนในเวียดนาม แต่หากมองไปในอนาคต การกระจายบางส่วนลงทุนภูมิภาคอาเซียนก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ กองทุนที่ให้ผลตอบแทนโดนเด่นยังเป็นกองทุนที่ลงทุนในเวียดนามที่เป็นตลาดที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในภูมิภาค โดยกองทุนหลัก ได้แก่ กองทุน Principal VNEQ-A ที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นในช่วงที่ผ่านมา ส่วนกองทุนที่ลงทุนในภูมิภาคอาเซียนแม้ผลตอบแทนจะต่ำกว่ากองทุนเวียดนามแต่ความเสี่ยงในแง่ของความผันผวนก็น้อยและเนื่องจากกระจายการลงทุนไปยังหลากหลายอุตสาหกรรมและในหลายประเทศ ได้แก่ กองทุน KT-ASEAN” นายดนัย กล่าว

ข้มทุกข่าว ชัดทุกเรื่อง

By admin

ใส่ความเห็น